ภาวะโลหิตจาง ต้องกินอาหารอย่างไร!
ภาวะโลหิตจาง เป็นภาวะที่เกิดจากร่างกายมีเม็ดเลือดแดงน้อยกว่าปกติ พบได้บ่อยในคนทั่วไป โดยเม็ดเลือดแดงมีหน้าที่ในการส่งออกซิเจนไปให้เซลล์และเนื้อเยื่อต่างๆ ทั่วร่างกาย การที่เม็ดเลือดแดงลดลงจึงส่งผลให้เกิดความผิดปกติได้หลากหลาย ตั้งแต่อาการเหนื่อยง่ายขึ้นกว่าเดิม บางคนอาจรู้สึกว่าเมื่อออกแรงทำกิจกรรมแล้วเหนื่อยมากขึ้น หรือบางคนอยู่เฉยๆ ก็อาจรู้สึกเหนื่อย อ่อนเพลียก็ได้ บางคนอาจมีความรู้สึกหงุดหงิด
หากเกิดภาวะโลหิตจางรุนแรง อาจกระทบการทำงานของหัวใจ เกิดภาวะหัวใจทำงานมากขึ้นจนถึงขั้นหัวใจล้มเหลวได้ หรือกระทบกับการทำงานของสมอง ทำให้มีอาการวูบหรือหมดสติ อาการต่างๆ อาจเกิดมากน้อยแตกต่างกันในแต่ละคน ซึ่งสาเหตุหนึ่งของการเกิดภาวะโลหิตจาง อาจจะมาจากการขาดสารอาหารที่จำเป็นต่อการสร้างเม็ดเลือดแดง ซึ่งที่สำคัญ ได้แก่ ธาตุเหล็ก, วิตามินบี 12, กรดโฟลิค
ดังนั้น คนที่มีภาวะโลหิตจางควรที่จะเลือกรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง และต้อวเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย โดยวันนี้ทาง SN Food อาหารเพื่อสุขภาพ เราจะมาพูดถึงเรื่องของภาวะโลหิตจางว่า เมื่อเกิดภาวะดังกล่าว เราจะต้องจัดการกับโภชนาการอย่างไร เพื่อเป็นแนวทางให้คนที่มีภาวะโลหิตจางได้หันมาใส่ใจในการรับประทานอาหารมากยิ่งขึ้น เพื่อเป็นประโยชน์ต่อตัวเอง
โดยการป้องกันภาวะโลหิตจางนั้น เราจะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารและวิตามินเสริม เนื่องจากภาวะโลหิตจางบางประเภทเกิดจากการรับประทานอาหารที่มีสารอาหารไม่เพียงพอ หรือภาวะบางอย่างจากโรค ซึ่งแพทย์จะแนะนำให้รับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูงและวิตามินต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วิตามินบี 12 กรดโฟลิก รวมถึงวิตามินซี ที่มีส่วนช่วยในการดูดซึมธาตุเหล็ก เช่น เนื้อสัตว์ประเภทเนื้อแดง เครื่องใน อาหารทะเล ผักใบเขียวเข้ม ผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว ไข่ นม เป็นต้น
โดยการรับประทานอาหารสำหรับเด็กทารกที่มีภาวะโลหิตจาง ในวัยตั้งแต่แรกเกินจนครบ 1 ปี ควรดื่มนมแม่ เนื่องจากนมแม่มีสารอาหารที่จำเป็นครบถ้วนอยู่แล้ว ไม่ควรดื่มนมวัวที่ไม่ได้รับรองสำหรับทารก เมื่ออายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไปสามารถเริ่มรับประทานผักผลไม้ได้แล้ว หากเด็กอายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไปยังสามารถดื่มนมแม่ร่วมกับรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง เช่น ข้าวโอ๊ต ผักใบเขียว ตับ และไข่ เป็นต้น
และสำหรับบุคคลทั่วไปที่เป็นโลหิตจาง ควรรับประทานผักใบเขียว เช่น คะน้า ผักโขม ผลไม้อบแห้ง เนื้อสัตว์โดยเฉพาะตับ เนื้อสัตว์สีแดง และอาหารทะเลซึ่งเป็นแหล่งของธาตุเหล็ก หรือจะรับประทานธัญพืชจำพวกถั่วเหลือง ถั่วแดง หรืองา เป็นต้น แต่ในกรณีโลหิตจางจากการขาดโฟลิกและวิตามินบี 12 หากขาดกรดโฟลิกให้รับประทานอาหารจำพวกผักผลไม้สด หรือข้าวกล้อง เนื้อวัว และปลาแซลมอน เป็นต้น หากเกิดจากการขาดวิตามินบี 12 ให้เน้นรับประทานไข่ เนื้อสัตว์รวมถึงเนื้อปลา ก็จะสามารถช่วยได้ และควรหลีกเลี่ยง เนื่องจากร่างกายของผู้ป่วยเลือดจางต้องกินอาหารเพื่อลดการขาดสารอาหารที่สำคัญต่อการสร้างเม็ดเลือดแดง
จึงมีอาหารบางประเภทที่อาจขวางกั้นการดูดซึมอาหารเหล่านั้นที่ควรหลีกเลี่ยง และอาหารที่ไม่ควรทานพร้อมกัน คือถ้าหากรับประทานยาเสริมธาตุเหล็ก ไม่ควรทานพร้อมกับการดื่มนม ไม่ควรดื่มชากาแฟ หลังมื้ออาหารที่มีผักใบเขียว ควรหลีกเลี่ยงผักใบเขียวเข้มรสฝาด ทั้งสมุนไพร ขี้เหล็ก ขมิ้นชัน กระถิน เป็นต้น
รวมถึงต้องจำกัดปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์ด้วย โดยผู้ชายควรดื่มไม่เกิน 2 แก้ว ส่วนผู้หญิงไม่ควรดื่มเกิน 1 แก้วต่อวัน อย่ารงไรก็ตาม นอกจากการรับประทานอาหารแล้ว ผู้ป่วยโลหิตจางสามารถออกกำลังกายได้ด้วย แต่ต้องปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำในการออกกำลังกายที่ถูกต้องก่อนทุกครั้ง
ดังนั้น สิ่งที่เราไม่ควรมองข้าม คือ เราทุกคนควรพยายามรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และรับประทานในแต่ละหมู่ให้มีความหลากหลาย โดยเฉพาะคนที่มีโรคประจำตัว ต้องระมัดระวังในการรับประทานอาหารให้มากเป็นพิเศษ และต้องรับประทานอาหารให้เพียงพอ เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารต่างๆ ครบในปริมาณที่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย ทาง SN Food อาหารเพื่อสุขภาพ เราอยากให้ทุกคนมีสุขภาพที่ดี เพื่อที่จะได้ห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บ