การดูแลสายยางให้อาหารผู้ป่วย
ขั้นตอนการเตรียมอาหารและอุปกรณ์
-
- เตรียมอุปกรณ์ให้อาหารทางสายยาง ตรวจสอบสายยางว่ามีสิ่งอุดตันหรือไม่
- ปริมาณอาหาร:การให้อาหารทางสายยาง ควรคำนึงถึงเรื่องของปริมาณอาหารที่ผู้ป่วยควรรับในแต่ละมื้อ หากผูป้วยถูก อดอาหารมาใหม่ๆ ควรให้อาหารในปริมาณ 200-300 ml. ทุก 4-6 ชั่วโมง
- งดให้อาหารทางสายยางในระยะก่อนผ่าตัดเพื่อป้องกันการสำลักเศษอาหารเข้าหลอดลมในขณะได้รับยาสลบ
- ปรับองศาเตียง ให้ศีรษะสูง30-45 องศา เพื่อป้องกันการสำลัก
ขั้นตอนการเตรียมผู้ป่วย
-
- จัดท่านั่งหรือนอนให้ผู้ป่วยสบายตัวที่สุด
- เตรียมสภาพจิตใจให้พร้อม เพื่อคลายความวิตกกังวล และผู้ป่วยให้ความร่วมมือ ก่อนการใส่สายยางให้อาหาร
- ผู้ที่จะให้อาหารต้องล้างมือให้สะอาด
- ใช้ผ้าสะอาดรองใต้คางผู้ป่วย
ขั้นตอนการสอดสายยาง
-
- ก่อนสอดสายยางา หากผู้ป่วยลุกนั่งได้ให้อยู่ในท่านั่ง ถ้าช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ จัดให้อยู่ในท่าศีรษะสูงหรือกึ่งนั่งกึ่งนอน
- ก่อนทำการสอดสายยาง ให้ทำการวัดความยาวของสายยางก่อน
- ตรวจรูจมูก ผนังกั้นจมูก ว่ามีสิ่งอุดตันหรือไม่ จากนั้นจัดท่ากึ่งนั่งกึ่งนอนให้ผู้ป่วย แล้วใช้หล่อลื่นสายด้วยสารหล่อลื่นยาวประมาณ 10-20 ซ.ม สอดสายยางลึกประมาณ50ซ.ม แล้วทดสอบว่าสายอยในกระเพาะจริงหรือไม่
- ปล่อยใหอาหารไหลลงใหเ้ต็มสาย ให้หารถือ ค้างไว้
- ก่อนการให้อาหารทางสายยางทุกครั้ง ให้ตรวจสอบตำแหน่งของสายยางว่าอยู่ตำแหน่งเดิมทุกครั้ง ก่อนเริ่มให้อาหาร
- ปริมาณอาหารควรอยู่ที่200ml/ครั้ง,อุณหภูมิ38-40องศา
การดูแลผู้ป่วยหลังให้อาหารทางสายยาง
-
- หลังให้อาหารเสร็จ ให้ผู้ป่วยนั่งอยู่ท่าเดิม30 นาทีถึง 1 ชวั่ โมง เพื่อป้องกันการขย้อนอาหาร
- หลังให้อาหารทางสายยางเสร็จ ให้ใช้น้ำอุ่นล้างสายยาง
- นำอุปกรณ์ไปทำความสะอาดและเก็บให้เรียบร้อย จากนั้นถอดถุงมือและล้างมือให้สะอาด
สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงในการให้อาหารทางสายยาง คือความสะอาดของอาหาร และความปลอดภัยของผู้ป่วย ที่SN FOODเราใส่ใจทุกขั้นตอนการผลิต เราผลิตในห้องปลอดเชื้อในโรงพยาบาล และควบคุมกระบวนการผลิตทุกขั้นตอนโดยนักโภชนาการผู้เชี่ยวชาญ และยังคัดสรรวัตถุดิบด้วยความพิถีพิถัน เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับ สารอาหารที่ครบถ้วน ตามหลักโภชนาการ