cleancocleanco

การดูแลสุขภาพช่องปากและฟันของผู้ป่วยติดเตียง 

การดูแลสุขภาพช่องปากและฟันของผู้ป่วยติดเตียง 

ในเรื่องของสุขภาพช่องปากและฟัน ถือเป็นเรื่องที่เราต้องใส่ใจในทุก ๆวันอยู่แล้ว ซึ่งคนเราปกติส่วนใหญ่จะใช้ปากในการรับประทานอาหาร ซึ่งจะต้องจำเป็นในการทำความสะอาดเป็นประจำทุกวันอย่างต่อเนื่อง เพราะสุขภาพช่องปากและฟัน ถือเป็นเรื่องที่สำคัญมากจะส่งผลต่อสุขภาพของคนเรา ในการรับประทานอาหารในแต่ละวันนั้นทุกคนใช้ช่องปาก และฟันในการบดเคี้ยวอาหาร เช่นเดียวกับผู้ป่วยติดเตียงหรือแม้กระทั่งผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับประทานอาหารเองได้  ต้องให้อาหารทางสายยางผู้ป่วยกลุ่มนี้ ถึงแม้ว่าจะไม่ได้รับประทานอาหารทางปากโดยตรง เพราะเนื่องจากมีภาวะที่กลืนอาหารเองไม่ได้

แต่อย่างไรก็ตามสุขภาพช่องปากและฟันของผู้ป่วยติดเตียงหรือผู้ป่วยที่ต้องให้อาหารทางสายยางก็ถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญ ไม่ควรมองข้าม ซึ่งสามารถทำได้โดยการทำความสะอาดช่องปากอย่างสม่ำเสมอเพื่อป้องกันการอักเสบติดเชื้อและเป็นแผล ภายในช่องปากโดยเป็นสาเหตุของความเจ็บปวดการติดเชื้อในกระแสเลือด นอนไม่หลับหรือมีอาการซึมเศร้า รวมทั้งยังช่วยลดการเกิดปอดอักเสบจากการสำลักอาหารเพราะผู้ป่วยที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ หรือผู้ป่วยติดเตียงที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้จำเป็นต้องมีผู้ดูแลในเรื่องของสุขภาพช่องปากและฟันอย่างถูกวิธีเพื่อคงสุขภาพช่องปากและฟันที่ดี รวมถึงป้องกันโรคและควรทำความสะอาดช่องปากและฟันทุกวันอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง

วิธีดูแลสุขภาพช่องปาก ของผู้ป่วยติดเตียง

1.การแปรงฟัน

สำหรับการดูแลสุขภาพช่องปากและฟันของผู้ป่วยติดเตียง สามารถทำได้โดยการดูแลในเรื่องของการรับประทานอาหารและต้องป้องกันการเกิดแผลและลดการติดเชื้อในช่องปาก การดูแลเพื่อการฟื้นฟูสุขภาพช่องปากและฟันของผู้ป่วยนั้นสามารถทำได้โดยการช่วยบริหารกล้ามเนื้อใบหน้า ลิ้นและต่อมน้ำลาย เพื่อช่วยฟื้นฟูประสิทธิภาพการกลืน การพูด การแสดงความรู้สึกทางใบหน้า รวมถึงกระตุ้นการผลิตน้ำลายด้วย

2.ปรับเปลี่ยนอาหาร

นอกจากการดูแลสุขภาพทั่วไปของผู้ป่วยติดเตียงแล้วในเรื่องของการรับประทานอาหารก็ต้องดูแลให้มากเป็นพิเศษ เนื่องจากผู้ป่วยกลุ่มนี้บางกรณีไม่สามารถรับประทานอาหารเองได้ จึงต้องรับประทานอาหารทางสายยางเพื่อป้องกันภาวะการขาดสารอาหารและยังช่วยรักษาสมดุลของระบบการย่อยอาหารและระบบขับถ่ายของผู้ป่วยให้เป็นไปตามปกติ ซึ่งวิธีการรับประทานอาหารหรือการให้อาหารถือว่าเป็นเรื่องที่ต้องระมัดระวังให้มากเป็นพิเศษ เพราะถ้าหากให้ผู้ป่วยนอนติดเตียงนอนกิน อาจทำให้ผู้ป่วยเกิดการสำลักอาหารได้ ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่อันตรายถึงแก่ชีวิตได้

นอกจากนี้อาจทำให้มีเศษอาหารหลุดเข้าไปในหลอดลมจนส่งผลให้ปอดเกิดการอักเสบติดเชื้อ ซึ่งถ้าหากเป็นเศษอาหารชิ้นใหญ่อาจจะทำให้ไปอุดหลอดลมจนกระทั่งขาดอากาศหายใจได้ ผู้ดูแลจะต้องป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยเกิดการสำลักอาหาร จึงไม่ควรให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารในท่านอนหรือให้อาหารทางสายยางในขณะที่ผู้ป่วยกำลังนอน ก่อนที่จะให้ผู้ป่วยได้รับอาหารควรจัดผู้ป่วยให้นั่งตัวตรง โดยพยายามให้ผู้ป่วยนั่งตัวตรงให้มากที่สุด หลังจากกินอาหารเสร็จเรียบร้อยแล้วควรให้ผู้ป่วยนั่งท่าเดิมเพื่อให้อาหารได้ย่อย1-2 ชั่วโมง จึงค่อยนอนลง นอกจากนี้ในเรื่องของการนอนของผู้ป่วย ผู้ป่วยที่นอนติดเตียงจะไม่สามารถพลิกตัวเองได้และหากต้องนอนอยู่ในท่าเดิมเป็นเวลานานนาน ก็อาจจะทำให้เกิดแผลกดทับ ซึ่งในระยะแรกอาจทำให้ลอกแค่ผิว แต่เมื่อนานไปอาจจะทำให้ลอกจนถึงชั้นกล้ามเนื้อหรืออาจถึงชั้นกระดูกและหากร่างกายปราศจากผิวปกคุมแล้วก็มีโอกาสที่จะติดเชื้อในกระแสเลือดได้ เพราะฉะนั้นควรช่วยให้ผู้ป่วยได้พลิกตัวทุก ๆ 2 ชั่วโมงให้นอนหงายตะแคงซ้าย ตะแคงขวาหรือนอนคว่ำ แต่ควรจะวัดระวังพอสมควรเพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับ

3.การทำความสะอาดช่องปาก 

สำหรับในเรื่องของการดูแลรักษาสุขภาพช่องปากและฟันของผู้ป่วยติดเตียง ก็จะมีขั้นตอนที่ไม่ยุ่งยากแต่ก่อนอื่นที่จะเข้าสู่ขั้นตอนการทำความสะอาดช่องปากของผู้ป่วยติดเตียงนั้น ผู้ดูแลควรแจ้งแก่ผู้ป่วยก่อนว่ากำลังจะทำอะไร รวมทั้งปรับตำแหน่งให้ผู้ป่วยมีความพร้อมสำหรับการแปรงฟัน อาจจัดให้ผู้ป่วยนั่งในท่าครึ่งนั่ง ครึ่งนอนและใช้หมอนหนุนบนเตียงหรือปรับเตียงให้มีศีรษะสูงจากพื้นเตียงประมาณ 1 ฟุตจะเป็นท่าที่ปลอดภัยและไม่ทำให้เกิดอาการสำลัก. สำหรับคนที่ศีรษะอยู่ไม่นิ่ง ควรให้ผู้ป่วยนั่งและผู้ดูแลอยู่ด้านหลังโดยใช้แขนข้างหนึ่งอบศีรษะและอีกข้างหนึ่งถือแปรงเข้าปากเพื่อให้ง่ายแก่การทำความสะอาดช่องปากและฟัน หรืออาจจะจัดให้ผู้ป่วยอยู่ในท่านอนโดยให้เคลื่อนตัวผู้ป่วยชิดริมเตียงข้างที่ผู้ดูแลอยู่จัดให้นอนตะแคงวางผ้ากันเปื้อนที่หน้าอกป้องกันไม่ให้น้ำหก หรือวางชามรูปไตด้านขวาแนบกับแก้มผู้ป่วย นอกจากนี้ตำแหน่งที่เหมาะสมสำหรับการแปรงฟันสำหรับผู้ป่วยติดเตียงคือผู้ดูแลอาจจะอยู่ด้านข้างหรืออยู่ด้านหลังหรือให้ผู้สูงอายุหนุนตัก ซึ่งจะเป็นวิธีการที่ปลอดภัยมากที่สุด

สำหรับวิธีการแปรงฟันเริ่มด้วยจากให้ผู้ป่วยอมน้ำจากแก้วเพื่อให้ช่องปากมีความชื้น จากนั้นอาบปากและใช้แปรงสีฟันขนอ่อนผสมยาสีฟันฟลูออไรด์ แปรงเข้าไปในช่องปาก โดยระมัดระวังไม่ให้แปรงสอดเข้าไปลึกถึงลำคอเพราะอาจจะทำให้ผู้ป่วยอาเจียนได้และควรหยุดพักให้บ้วนน้ำลายหรืออิ่มน้ำเล็กน้อยสลับกัน 2-3ครั้งเพียงเท่านี้ก็จะทำให้ผู้ป่วยติดเตียงมีสุขภาพช่องปากและฟันที่ดีเพื่อป้องกันการเกิดฟันผุหรือปัญหาสุขภาพอื่น ๆตามมา

adminsn
About adminsn